ประกันรถยนต์ เรียกร้องค่าขาดประโยชน์ระหว่างนำรถยนต์เข้าซ่อมได้จริงหรือเปล่า?

ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น ประชาชนผู้ใช้รถส่วนใหญ่นั้น ไม่ทราบมาก่อนว่าสามารถเรียกร้องค่าชดเชยขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์เข้าซ่อมได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นการที่จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์นั้น ยังไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบที่แน่นอนจากกรมการประกันภัยนั้น ก็สามารถเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้ แต่จะเป็นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในคดีความผิดฐานละเมิด โดยการทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งก็คือรถยนต์นั้นเสียหาย ผู้นั้นมีความผิดฐานละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ถูกกระทำการละเมิด ซึ่งก็คือผู้เสียหายนั่นเอง

ซึ่งเรื่องดังกล่าวคนทั่วไปทราบได้ แต่เป็นเพียบแค่คนจำนวนหนึ่งเท่านั้น บริษัทประกันภัย ซึ่งถือเป็นผู้รับช่วงสิทธิ์ในหนี้ที่จะต้องชำระต่อมาจากผู้กระทำการละเมิด หรือผู้ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นตัวลูกค้าของบริษัทประกันภัยนั้น บริษัทประกันภัยจึงไม่ได้มีการชดเชยตรงส่วนนี้ เนื่องจากไม่ได้มีผู้เรียกร้อง หรือฟ้องร้องเป็นคดีความมากนัก หรืออาจจะมีการจ่ายค่าชดเชยการขาดประโยชน์แต่เป็นการจ่ายที่ไม่มีการกำหนดยอดเงิน จำนวนวันเป็นที่แน่นอนว่า ต้องจ่ายกี่วัน วันละเท่าไหร่ จึงเป็นการที่ไม่มีกำหนดตายตัวแน่นอนว่าขั้นตอนต่างๆเป็นอย่างไร

ต่อมากรมการประกันภัยจึงได้มีการเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว ได้จัดระเบียบให้มีความชัดเจนมากขึ้น และได้มีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน โดยได้มีการกำหนดอัตราไว้ดังนี้

*รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท

*รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท

*รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่า 1,000 บาท

การกำหนดดังกล่าวก็เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นการช่วยเยียวยาผู้เสียหายที่ถูกกระทำผิด ให้ได้รับการชดเชยจากการไม่มีรถใช้ ต้องนั่งรถยนต์ไปทำงาน ไม่มีรถในการใช้ในการประกอบอาชีพ หารายได้ ทำให้ขาดรายได้ ซึ่งส่งผลเสียในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการเร่งให้ทางบริษัทประกันดำเนินการจัดซ่อมรถยนต์ของผู้เสียหายให้เสร็จโดยไวอีกด้วยตามมุมมองของแอดมิน

โดยบุคคลผู้มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าชดเชยดังกล่าวนั้น ต้องเป็นคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกจากการเกิดเหตุเท่านั้น โดยสามารถเรียกร้องเอากับบริษัทประกันที่ดูแลฝ่ายคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด ซึ่งจากที่ได้กล่าวไป ก็จะมีคนสงสัยว่าแล้วในกรณีที่คู่กรณีผู้กระทำความผิดไม่ได้ต่อประกันหละ เราจะต้องเรียกร้องจากใคร ซึ่งกรณีนี้ก็จะต้องเรียกร้องเอากับคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดนั่นเอง ซึ่งตรงส่วนนี้ก็อยู่ที่ความเห็นอกเห็นใจกัน ของผู้ที่เป็นฝ่ายถูกแล้วหละครับว่าจะทำอย่างไรในกรณีนี้ จะเรียกหรือไม่เรียกร้องดี

ซึ่งการเรียกร้องในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายผิดนั้นมีประกันนั้น คู่กรณีฝ่ายถูกจะต้องติดต่อไปที่บริษัทที่เป็นคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด เพื่อแสดงสิทธิในการที่เราจะเรียกร้องนี้ โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และสอบถามไปทางบริษัทประกันภัยว่า สามารถส่งเอกสารผ่านทางอีเมล หรือต้องเข้าไปที่บริษัทเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน เอกสารที่จะต้องใช้

  1. สำเนาทะเบียนรถ
  2. สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัย
  3. ใบเคลม ใบรับรองความเสียหาย
  4. ใบแจ้งรายการความเสียหาย
  5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน
  6. หน้าสมุดบัญชีของผู้เอาประกันภัย
  7. ใบรับรถแสดงวันที่เข้าซ่อมและวันซ่อมเสร็จ
  8. หนังสือเรียกร้องแสดงสิทธิในการเรียกร้อง

เมื่อเอกสารทั้งหมดพร้อมก็สามารถดำเนินการได้เลยครับ บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้อ่านแบบพอเข้าใจง่ายขึ้น ขาดเหลือ กรือตกหล่นตรงส่วนใด ต้องกราบขออภัยด้วยครับ ขอบคุณครับ